วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กรอบแนวความคิดในการวิจัย


กรอบแนวคิดในการวิจัย (conceptual framework)

นงลักษณ์  วิรัชชัย (2538 : 22-29 ) แบบจำลองที่นักวิจัยสร้างขึ้นโดยใช้ทฤษฎีและผลการวิจัยในอดีตเพื่อแทนความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์ระหว่างปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในธรรมชาติ และจะนำไปตรวจสอบว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์หรือไม่เพียงใด  ในรายงานการวิจัย  นักวิจัยนิยมเสนอกรอบความคิดในการวิจัยในรูปของโมเดล หรือแผนแสดงโครงสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรทั้งหมดที่ใช้ในการวิจัย  กรอบความคิดในการวิจัยนี้  จะลดรูปมาจากกรอบความคิดเชิงทฤษฎี (Theoretical  Framework) ในกรอบความคิดเชิงทฤษฏีจะรวมตัวแปรทุกตัวที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับตัวแปรตามที่นักวิจัยต้องการศึกษา แต่ในการวิจัยนักวิจัยอาจพิจารณาควบคุมความแปรปรวนของตัวแปรบางตัว ทำให้อิทธิพลจากตัวแปรนั้นคงที่ หรือจำกัดขอบเขตการวิจัย ไม่ศึกษาตัวแปรทั้งหมดในกรอบความคิดเชิงทฤษฎี ตัวแปรที่เหลืออยู่ในกรอบความคิดในการวิจัย จึงอาจมีจำนวนน้อยกว่าตัวแปรในกรอบความคิดเชิงทฤษฎี

http://www.drmanage.com/index.php?lay=show&ac=articl e&Id=538654696 ได้รวบรวมและกล่าวถึง  กรอบแนวความคิดการวิจัย หมายถึง เป็นการสังเคราะห์หรือบูรณาการแนวคิด ทฤษฎี หลักการตลอดจนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยที่ผู้วัจัยได้นำมาพัฒนาขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในการวิจัยเรื่องนั้นโดยตรง  จุดมุ่งหมายหลักของการสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องก็คือ การพัฒนามาเป็นกรอบ แนวคิดการวิจัย” (conceptual research framework) หรือ ตัวแบบของการวิจัย” (research model) ซึ่งในกรอบแนวคิดหรือตัวแบบของการวิจัยนี้ จะเป็นการพัฒนาขึ้นมาโดยอาศัยเหตุผลเชิงตรรกะ โดยมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ๆ ทั้งหมดที่ต้องการศึกษาอย่างเป็นระบบและมีเหตุมีผลรองรับทางวิชาการ ทั้ง นี้การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัยควรนำมาจากองค์ความรู้ในพาราไดม์ปัจจุบันของ ศาสตร์นั้น

               http://www.gotoknow.org/blogs/posts/400137   ได้รวบรวมและกล่าวถึง  กรอบแนวความคิดการวิจัย หมายถึง การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย เป็นขั้นตอนของการนำเอาตัวแปรและประเด็นที่ต้องการทำวิจัยมาเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้องในรูปของคำบรรยาย แบบจำลองแผนภาพหรือแบบผสมการวาง กรอบแนวคิดในการวิจัยที่ดี จะต้องชัดเจน แสดงทิศทางของความสัมพันธ์ ของสิ่งที่ต้องการศึกษา หรือตัวแปรที่จะศึกษา สามารถใช้เป็นกรอบในการกำหนดขอบเขตของการวิจัย การพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย รูปแบบการวิจัย ตลอดจนวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
               
                สรุป
                 กรอบแนวคิดในการวิจัย (conceptual framework)หมายถึง แนวคิดหรือแบบจำลองที่แสดงถึงแนวคิดอันเป็นโครงสร้างของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ โดยใช้ทฤษฎีและผลการวิจัยในอดีตเพื่อแทนความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์ระหว่างปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในธรรมชาติ และจะนำไปตรวจสอบว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ต่อไปว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่  ในการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย  ผู้วิจัยจะต้องมีกรอบพื้นฐานทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษาและมโนภาพ(concept)ในเรื่องนั้น  แล้วนำมาประมวลเป็นกรอบในการกำหนดตัวแปรและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ  ในลักษณะของกรอบแนวคิดการวิจัยและพัฒนาเป็นแบบจำลองในการวิจัยต่อไป

อ้างอิง

นงลักษณ์  วิรัชชัย. (2538).  วารสารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.  กรุงเทพมหานคร.
http://www.drmanage.com/index.php?lay=show&ac=articl e&Id=538654696 เข้าถึงเมื่อ วันที่ 4/12/2012
http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=1 เข้าถึงเมื่อ วันที่ 4/12/2012

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น