วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย


ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (background and rationale)

                     วันทนีย์  ชูศิลป์ (2535) การวิจัยเป็นขวนการแสวงหาความรู้ความจริงด้วยระบบและวิธีการที่น่าเชื่อถือเพื่อที่จะได้นำความรู้และความจริงนั้นๆไปใช้ในการตัดสินใจปัญหาหรือเพื่อก่อให้เกิดความรู้หรือทฤษฎีใหม่  ที่มาของปัญหาการวิจัย มีดังนี้
1.กำหนดปัญหา
2.สร้างสมมุติฐาน
3.การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
4.การกำหนดตัวแปร
5.กำหนดคำนิยามเชิงปฏิบัติการ
6.ออกแบบการวิจัย
7.สร้างเครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล
8.วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
9.เขียนรายงานการวิจัย

http://www.learners.in.th/blogs/posts/450209   ได้รวบรวมและกล่าวถึง  ผู้วิจัยต้องแสดงให้เห็นว่า มีความรู้พื้นฐานและเข้าใจในปัญหาที่กำลังจะศึกษาอย่างชัดเจนทั้งทางทฤษฎี และปฏิบัติ สามารถระบุถึงความสำคัญของปัญหา ความจำเป็น คุณค่าและประโยชน์ที่จะได้รับอย่างมีเหตุผล ระบุได้ว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือไม่ มีที่ใดบ้าง และการศึกษานี้จะช่วยเพิ่มคุณค่าได้อย่างไรการกำหนดปัญหาในการทำวิจัย จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลมาประกอบในการพิจารณา ข้อมูลเหล่านี้อาจมาจากทฤษฎีหรือแนวคิดทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะ ศึกษา จากประสบการณ์ของตัวผู้วิจัย จากข้อมูลในรายงานวิจัยของผู้อื่นที่ทำมาแล้ว นำสิ่งเหล่านี้มาสร้างแนวคิด ( conceptualization ) ในการเจาะปัญหาที่สำคัญ และวางขอบเขต (framework) ของปัญหาสำหรับทำวิจัย

 
 http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  ได้รวบรวมและกล่าวถึง ความเป็นมาและความสำคัญว่าต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่าและประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้ โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหา อย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง  มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร

สรุป
การวิจัย คือ การแสวงหาความรู้ความจริงด้วยระบบและวิธีการที่น่าเชื่อถือเพื่อที่จะได้นำความรู้และความจริงนั้นๆไปใช้ในการตัดสินใจปัญหาหรือเพื่อ ก่อให้เกิดความรู้หรือทฤษฎีใหม่ ความเป็นมาและความสำคัญนั้นจะต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่าและประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้ โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหา 

อ้างอิง
ชิดชนก  เชิงเชาว์.  (2535).  การวิจัยเบื้องต้นทางการศึกษา.  ปัตตานี : ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา 
               สำนักวิทยบริการมหาลัยสงขลานครินทร์ . 
http://www.learners.in.th/blogs/posts/450209    เข้าถึงเมื่อ วันที่ 4/12/2012
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  เข้าถึงเมื่อ วันที่ 4/12/2012









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น