วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การวิเคราะห์ข้อมูล


การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)

สาวิตรี โรจนะสมิต อาร์โนลด์ (2545:10) กล่าวว่า  การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำผลสรุปที่ได้ไปใช้ในการวางแผนและตัดสินใจนั้น จะต้องเลือกวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลให้ถูกต้องและเหมาะสม โดยพิจารณาว่าต้องการวิเคราะห์ข้อมูลแบบกี่ตัวแปร และต้องการเสนอผลในรูปสถิติเชิงพรรณนาหรือสถิติเชิงอนุมาน ซึ่งวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละแบบจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระดับข้อมูลและการเสนอผล

สุภาพ วาดเขียน (2520:30) กล่าวว่า การวิเคราะห์ข้อมูลคือการจำแนกข้อมูลโดยจัดอันดับความมากน้อย ใหญ่เล็กและจัดระเบียบข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ การตรวจนับ การตรวจสอบข้อบกพร่องและความเชื่อถือของแหล่งที่มาตลอด การพิจารณาว่าข้อมูลที่รวบรวมมาได้นั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ตอบสมมติฐานหรือปัญหาที่ตั้งไว้หรือไม่ การวิเคราะห์ข้อมูลนับว่าเป็นการแสดงหรือการสาธิตผลการทดลองออกมาได้เห็นอย่างชัดเจนมีเหตุผล และนำเอาวิธีการทดลองสถิติมาใช้วิเคราะห์และตีความหมาย ซึ่งจะต้องใช้ประสบการณ์ ความรอบรู้ เหตุผล ความยุติธรรม ความเชื่อได้ ความชำนาญ และหลักการต่างๆในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการวิเคราะห์

http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=9&ved=  ได้รวบรวมและกล่าวถึง  การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์โดยในการวิเคราะห์ผู้วิเคราะห์จะต้องทราบว่าข้อมูลที่รวบรวมมานั้นเป็นข้อมูลอยู่ในระดับใดจะใช้สถิติตัวใดมาทำการวิเคราะห์เพื่อให้เป็นไปตามขั้นตกลงเบื้องต้น (Assumption) ของสถิติแต่ละตัวและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวัดหรือการวิเคราะห์

สรุป
                การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of data) เป็นการจำแนกข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อจัดข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นระบบหมวดหมู่ แล้วใช้ค่าสถิติช่วยในการสรุปลักษณะของข้อมูลนั้น ๆ ตามลักษณะของตัวแปรที่ศึกษา ในกรณีที่เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ จะ แตกต่างกับการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้การวิเคราะห์โดยการ จำแนกชนิดและการเปรียบเทียบลักษณะของข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกัน ของปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยอาศัยกรอบแนวคิดและทฤษฎีช่วยในการสร้างข้อสรุปนั้น   ซึ่งประกอบด้วย
          1. การสรุปข้อมูล
          2. การนำเสนอข้อมูล
          3. การทดสอบสมมติฐาน
          4. ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น ข้อมูลที่ขาดหายไป ตัวอย่างไม่ให้ความร่วมมือ

อ้างอิง

สาวิตรี โรจนะสมิต อาร์โนลด์.  (2545).  มิติใหม่ของการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุภาพ วาดเขียน. (2520).  วิธีวิจัยเชิงการทดลองทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.  http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=9&ved  เข้าถึงเมื่อ วันที่ 4/12/2012

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น