วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง


ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Review of Related Literatures )      

ล้วน สายยศ และ อังคนา สายยศ (2528:34-35) กล่าวว่าการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องมี 7 ประการ ดังนี้
1. เพื่อค้นหาความจริงเป็นความจริงระดับสูงที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่าเป็นอย่างไร
2.เพื่อช่วยในการนิยามปัญหา นิยามเรื่องวิจัยให้กระจ่าง มีทิศทางที่ชัดเจน
3ช่วยในการเลือกหัวข้อวิจัยได้ตรงจุดมากขึ้น
4. ช่วยให้ทราบเทคนิคการวิจัย
5.หลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อน
6. ช่วยในการแปลความหมายข้อมูล
7.ช่วยในการจัดทำรายงานวิจัยได้ถูกต้อง

http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j ได้รวบรวมกล่าวถึง การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) หมายถึง การค้นคว้าศึกษา รวบรวมและประมวลผลงานทางวิชาการ เช่น ผลงานวิจัย บทความเอกสารทางวิชาการ และตำราที่เกี่ยวข้องกับเรื่องหรือประเด็นที่ทำการวิจัย

 http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon  ได้รวบรวมและกล่าวถึง วรรณกรรมหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง  (related literature) หมายถึง  เอกสารงานเขียนที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับหัวข้อปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจ  วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอาจมีหลายลักษณะ เช่น เป็นตำรา สารานุกรม  พจนานุกรม นามานุกรม ดัชนี รายงานสถิติ หนังสือรายปี บทความในวารสาร จุลสาร  ที่สำคัญก็คือรายงานผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น  ผู้วิจัยจะต้องทำการสำรวจอ่านทบทวนอย่างพินิจพิเคราะห์  ทักษะที่สำคัญของการทำวิจัยในขั้นตอนนี้คือ ทักษะในการสืบค้นหาสารนิเทศจากแหล่งต่าง ๆ และทักษะในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

สรุป
การทบทวนวรรณกรรม เป็นการเขียนถึงสิ่งที่ผู้วิจัยได้มาจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ทั้งทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ทฤษฎี หลักการ ข้อเท็จจริงต่างๆ แนวความคิดของผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผลงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของผู้วิจัย รวมทั้งมองเห็นแนวทางในการดำเนินการศึกษาร่วมไปกับผู้วิจัยด้วย โดยจัดลำดับหัวข้อหรือเนื้อเรื่องที่เขียนตามตัวแปรที่ศึกษา และในแต่ละหัวข้อเนื้อเรื่องก็จัดเรียงตามลำดับเวลาด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นพัฒนาการต่างๆ ที่เกี่ยวกับปัญหา นอกจากนี้ผู้วิจัยควรจะต้องมีการสรุปไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นความสัมพันธ์ทั้งส่วนที่สอดคล้องกัน ขัดแย้งกัน และส่วนที่ยังไม่ได้ศึกษาทั้งในแง่ประเด็น เวลา สถานที่ วิธีการศึกษาฯลฯ การเขียนส่วนนี้ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการตั้งสมมติฐานด้วย

อ้างอิง

ล้วน สายยศ และ อังคนา สายยศ  (2528:34-35)
http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j. เข้าถึงเมื่อ วันที่ 4/12/2012
http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon. เข้าถึงเมื่อ วันที่ 4/12/2012

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น